Entries by Vasin Permsup

โลกดิจิตอลไร้สาย

หลายปีที่ผ่านมา เราคุ้นชินกับโลกดิจิตอลที่ทวีความเร็วสูงขึ้นทุกที จากโมเด็ม 56K กลายเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (ADSL) จากที่เคยต่อเน็ตผ่านมือถือด้วยความเร็วที่แทบจะรับไม่ได้ของ GPRS ธรรมดาราว 40K กลายเป็น Edge ที่เร็วขึ้นอีก 3-4 เท่า สารพัดอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเน็ตซึ่งเคยมีขนาดใหญ่จนต้องวางอยู่กับที่ เช่นเครื่องเดสก์ท็อปและโมเด็ม เริ่มเล็กลงและสามารถแบกหรือพกพาไปไหนต่อไหนได้สะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน และแม้แต่เกมคอนโซลบางรุ่น ซึ่งนอกจากจะพกพาไปไหนๆได้แล้ว อุปกรณ์เหล่านี้รุ่นใหม่ๆยังเริ่มมีความเร็วในการต่อเน็ตสูงกว่าอุปกรณ์เดิมๆ ที่พกพาไม่ได้เสียด้วยซ้ำไป ปัจจุบันมาตรฐาน 3G ใหม่สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงถึง 7.2 เมกะบิต (ต่อวินาที) เทียบกับโฆษณาไฮสปีดอินเทอร์เน็ตที่โปรโมทกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันในราคาเดือนละไม่กี่ร้อยบาท ซึ่งมีความเร็วเพียง 1-2 เมกะบิตเท่านั้น (สำหรับ ADSL ถ้าคุณอยากใช้ความเร็วสูงกว่านี้ บ้านจะต้องอยู่ห่างจากอุปกรณ์ที่ชุมสายไม่เกินประมาณ 1-2 กิโลเมตรเท่านั้น) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่อุตส่าห์มีคนเอาเครื่องiPhone มาจับโปรแกรม Apache ยัดลงไป แล้วทำให้มันกลายเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการเรียกดูเว็บเพจแก่เครื่องอื่นๆ ทั่วโลก ทั้งๆ ที่ยังห้อยอยู่ข้างเอวหรือก้นกระเป๋าถือของคุณด้วยซ้ำ (บังเอิญว่าระบบของ iPhone มีพื้นฐานมาจาก Mac OS […]

iPad : ฤาจะเป็นแพลทฟอร์มนี้ที่เปลี่ยนโลก ?

ผมเชื่อว่าใครๆ ก็คงเห็นข่าวการเปิดตัวคอมพิวเตอร์แบบ tablet ในชื่อ iPad ของแอปเปิลเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นข่าวฮือฮากันไปทั่วโลก ซึ่งปฏิกิริยาของผู้คนทั่วไปต่อข่าวนี้ก็หลากหลาย บ้างก็ตื่นเต้นรอคอย บ้างก็ผิดหวัง บ้างก็สงวนท่าที และสำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านรายละเอียด ขอเก็บมาสรุปสั้นๆ และเล่าขยายอีกทีดังนี้ครับ iPad เป็นคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรูป ?Tablet? ที่จะเรียกว่า ?สมุดบันทึก? หรือ ?แผ่นกระดาน? ก็ได้ มีขนาดประมาณ 19 x 24 นิ้ว คือกว้างและยาวกว่าวารสาร D+ Plus ฉบับที่คุณถืออยู่นี้ออกไปอีกข้างละประมาณ 2 เซนติเมตร หนาประมาณครึ่งนิ้วหรือ 1.3 เซนติเมตร หนักประมาณ 7- 8 ขีด แล้วแต่รุ่น เรียกว่าเบากว่าโน้ตบุ๊คขนาดเล็กหรือเน็ตบุ๊คอยู่ประมาณ 20 -30% โดยที่ทั้งเครื่องมีแค่จอภาพแบนๆ ชิ้นเดียว ไม่มีคีย์บอร์ดจริงติดมาด้วย โดยมีคีย์แบบสัมผัสให้บนจอ เช่นเดียวกับ iPhone (แต่สามารถใช้คีย์บอร์ดจริงแบบ Bluetooth เชื่อมต่อเข้ามาได้) หน้าจอสีขนาด 9.7 นิ้ว ความละเอียด […]

Cloud Computing คอมพิวเตอร์แบบอึมครึม

Cloud Computing (ปี 2526 ? ยุคที่เพิ่งจะเริ่มมีเครื่อง IBM PC ได้ไม่นาน) บก. เทคนิคของวารสารคอมพิวเตอร์เล่มหนึ่ง เขียนด้วยลายมือขยุกขยิกไว้ในต้นฉบับของบทบรรณาธิการทำนองนี้ ??ในอนาคต คุณอาจเรียกใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย โดยไม่ได้รับรู้เลยว่าโปรแกรมที่คุณเรียกนั้นไปทำงานอยู่บนเครื่องไหน มีเพียงผลลัพธ์เท่านั้นที่ถูกส่งกลับมาแสดงบนเครื่องตรงหน้าคุณ?? เขาเขียนต่อไปจนจบหน้า บรรยายถึงระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งยังไม่มีอยู่จริง ด้วยหวังว่าจะสร้างภาพอนาคตให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงความก้าวหน้าและโอกาสอีกมากมายที่จะตามมาในอนาคต เขานั่งเขียนต้นฉบับด้วยลายมือ เพราะยุคนั้นคอมพิวเตอร์ยังแพงเกินกว่าที่ออฟฟิศเล็กๆ จะมีให้ใช้ได้ครบคน น่าเสียดายที่วารสารฉบับนั้นไม่มีโอกาสได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ บก. คาดคะเนเอาไว้ในวันที่เกิดขึ้นจริง เพราะมันจำเป็นต้องปิดตัวเองลงหลังจากนั้นไม่นาน (ปี 2552 ? ที่เราอาจเรียกกันว่า ?ปัจจุบัน?) บก. คนเดิมนั่งปั่นต้นฉบับ (ปั่น (กริยา) ? การเขียนด้วยความเร็วสูงกว่าปกติเพื่อให้ทันใช้งานแบบฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกำหนดส่งงานใกล้จะมาถึง หรือบางทีก็เลยไปแล้วหลายวัน 😉 ให้กับวารสารอีกเล่มหนึ่ง เขาเริ่มต้นด้วยการเปิดบราวเซอร์ขึ้นมา เรียกใช้โปรแกรมGoogle Documents แล้วคีย์ข้อความลงไป ด้วยวิธีนี้ ต้นฉบับของเขาจะถูกเก็บอยู่บนเว็บ และสามารถเรียกใช้ได้จากเครื่องไหนก็ได้ในโลก ขอเพียงมีชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่ถูกต้อง และไม่ว่าคอมพิวเตอร์ที่เขาใช้จะรันระบบปฏิบัติการอะไร ตั้งแต่ Windows, Mac OS หรือ Linux หรือคุณสามารถทำงานได้สารพัดอย่าง โดยไม่จำเป็นต้องรู้เลยว่ากำลังใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องไหนอยู่ จะเป็นเครื่องตั้งโต๊ะขนาดใหญ่ เครื่องเน็ตบุ๊คตัวเล็ก (ในอนาคตคงจะรวมไปถึงโทรศัพท์มือถือ แต่วันนี้เขายังทำได้แค่เรียกดูเอกสารเท่านั้น แก้ไขยังไม่ได้) […]