Entries by วศิน เพิ่มทรัพย์

Star Trek – เมื่อความจำเป็นเป็นบ่อเกิดของการประดิษฐ์ (Necessity is the mother of invention)

วันก่อนคุยหนังเรื่อง Sci-Fi ชุด Foundation ที่กำลังฉายสตรีมมิ่งทาง Apple tv+ แล้วมีคนสนใจพอสมควร ด้วยแง่มุมที่แปลกใหม่ในธีมหลักของเรื่อง ที่ใช้คณิตศาสตร์มาทำนายพฤติกรรมในอนาคตของฝูงชนที่มีจำนวนมากขนาดล้านล้านคนได้ (ในเรื่องเรียกว่า Psychohistory หรือเรียกเป็นไทยให้เก๋ไก๋ว่า “อนาคตประวัติศาสตร์”) ผมเลยนึกถึงอีกตัวอย่างหนึ่งที่กลายเป็น signature ของ Sci-Fi ซีรี่ส์ดังอย่าง Star Trek ที่คนจดจำได้มาตั้งแต่กว่า 50 ปีก่อนแล้ว นั่นคือการใช้เครื่อง Transporter เปลี่ยนคนให้เป็นลำแสงแล้วส่งไปอีกที่นึงได้ หลายคนอาจนึกถึงการใช้ CG หรือ Computer Graphics ที่แพร่หลายอย่างที่ทำกันในปัจจุบัน แต่ในความจริงแล้วภาพคนหรือสิ่งของถูกแปลงเป็นพลังงานบนแท่นส่งหรือ Transport pad ที่ดูแสนจะไฮเทคนั้นที่ปรากฏใน Star Trek – The Original Series (TOS) นั้นความจริงได้มาจากการถ่ายโคลสอัพฝอยโลหะและยาเม็ดฟู่ละลายน้ำที่หาได้ในยุค ‘60 ซึ่งยังไม่มีคอมพิวเตอร์ให้ใช้สร้างภาพใดๆ ต่างหาก เรื่องเกิดขึ้นเพราะตอนจะเริ่มถ่ายทำภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้ ทีมงานไม่มีงบพอที่จะทำหุ่นจำลองในการเอายาน Enterprise ทั้งลำร่อนลงบนดาวเคราะห์ใหม่ๆ ทุกตอนในเรื่อง หรือแม้แต่จะทำยานขนส่งขนาดเล็ก (shuttlecraft) […]

ความรู้สึกเมื่อดูตอนแรกของ Isaac Asimov’s “Foundation”

รอมายี่สิบปีตั้งแต่ลงทุนซื้อลิขสิทธิ์หนังสือมาพิมพ์ทั้งชุด 10 เล่มเมื่อราวปี 2000 (พ.ศ. 2543) ไม่สิ นานกว่านั้น นับตั้งแต่อ่านฉบับแปลไทยครั้งแรก ปี พ.ศ. 2518 กว่าจะมีคนเอามาทำขึ้นจอที่ Apple tv+ จนได้ ดูแล้วก็ OK ที่เอามาทำซีรี่ย์ มีเวลาให้เล่าดีเทลเยอะดี ส่วนความรู้สึกที่อยากเขียนเมื่อดูตอนแรกของ Isaac Asimov’s “Foundation” จบก็ประมาณนี้ชอบ:การตีความใหม่ในรายละเอียดที่ Asimov ไม่ได้เจาะจงไว้ เช่น- การ clone emperor มาสืบทอดในช่วงอายุต่างๆ – Jump ship ที่สร้างภาพให้เห็นเหมือนเดินทางผ่านหลุมดำ เข้าไปแล้วออกมาเลย (แต่ตัว drive นี่เหมือนเรื่อง Contact ไปนิดนึง) ไม่ใช่การ warp ไปใน subspace หรือ jump ผ่าน hyperspace แบบเรื่องอื่นๆ (รู้กันนะว่าเรื่องไหน)- ถิ่นฐานเดิมของ Gaal Dornick […]

ป้องกันโดนแฮ็คโซเชียลด้วยการยืนยันตัวตน 2 ระดับ (2-Factor Authentication) -ตอนที่ 1

เรามักจะพูดกันเรื่องไทยแลนด์ 4.0 ที่คาดว่าการรับและจ่ายเงินต่างๆจะทำผ่านระบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ แต่ผู้คนทั่วไปยังไม่ค่อยสนใจป้องกันการเข้าถึงแอพต่างๆ เหล่านั้น บัญชีผู้ใช้โซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น LINE, Facebook หรือแม้แต่เรื่องพื้นฐานอย่าง e-mail มากเท่าที่ควร จึงเสี่ยงกับปัญหาเรื่องถูกขโมยเงิน หรือถูกขโมยตัวตนบนโลกโซเชียล ซึ่งสามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยระบบที่เรียกว่า การยืนยันตัวตน 2 ระดับ

รถยนต์ไฟฟ้า (จะ)มาแล้วนะเธอ

“สรุป” เรื่องรถยนต์ไฟฟ้า – ช่วงนี้เห็นข่าวเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าออกมาถี่ เลยรวบรวม 12 ข้อที่ควรรู้มาเล่าสู่กันฟัง ทั้ง Tesla Model 3, Nissan Leaf, BYD, Chevy Bolt และรวมถึง infrastructure ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานีชาร์จไฟ แหล่งพลังงาน ความคุ้มค่าเทียบกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE – Internal Combustion Engine) แต่ใครรู้มากกว่า ถูกกว่า คอมเมนท์เสริมมาได้เลยนะครับ

6 วิธีเลือก Power Bank ที่ควรรู้

ปัจจุบันถ้าเราบอกว่าสมาร์ทโฟนเป็นเหมือนปัจจัยที่ 5 ที่ใครๆ ต้องมีแล้ว แบตเตอรี่สำรองหรือ Power Bank ก็คงจะนับเป็นปัจจัยที่ 6 คือใครๆ ที่ใช้สมาร์ทโฟนก็มักจะต้องพกติดตัวไว้ เผื่อกรณีใช้งานหนักๆ แล้วแบตหมด หาที่เสียบปลั๊กชาร์จไม่ได้หรือไม่สะดวกเพราะไปๆ มาๆ ไม่อยู่กับที่ตลอด จะได้ไม่ขาดตอนการออนไลน์

พาวเวอร์แบงก์ที่ขายกันก็มีหลากหลายยี่ห้อ แตกต่างกันทั้งความจุ น้ำหนัก ความสามารถในการชาร์จไฟ ราคา ฯลฯ เราจะมาดูกันว่าในการเลือกซื้อนั้นจะมีอะไรต้องพิจารณาบ้าง ซึ่งสรุปได้ 6 ข้อดังนี้…

หนังสือกระดาษ VS อีบุ๊ค คำถามที่ไร้ประโยชน์อีกต่อไป

ผมอยู่ในแวดวงคนทำหนังสือมากว่าสามสิบปี และด้วยแบ็คกราวด์ที่เรียนมาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะพูดได้ว่าได้เห็นเทคโนโลยีดิจิตอลมาตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนจะมีอินเทอร์เน็ตเสียอีก และตลอดเวลาที่ผ่านมาก็ได้เห็นปฏิกิริยาของคนทำหนังสือที่มีต่อสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอีบุ๊ค (E-book) ซึ่งเป็นไปในทางไม่ค่อยชอบใจปนสงสัยตลอดมา คนในวงการหนังสือกลัวกันมากว่ามันจะเข้ามาแย่งตลาดหนังสือกระดาษที่เราคุ้นเคยกัน กลัวกันตั้งแต่เรื่องการถูกก๊อปปี้ เสียตลาดที่ควรได้ ซึ่งก็เป็นข้อที่มีเหตุผลฟังขึ้นในระดับหนึ่ง ต่อมาก็เถียงกันเรื่องว่าอ่านบนกระดาษสบายตากว่า และจับต้องได้ ในขณะที่อีบุ๊คต้องอ่านบนจอคอมพิวเตอร์ยุคนั้น (ซึ่งก็ยังไม่สบายตาจริงๆ น่ะแหละ) พอจอภาพของอุปกรณ์ทั้งหลายละเอียดมากขึ้น นิ่งขึ้น จนสามารถอ่านได้สบายตา แถมอยู่บนแท็บเล็ตที่หยิบจับได้เบากว่าหนังสืออีก ก็เปลี่ยนมาเถียงกันเรื่องความเป็นเจ้าของอีบุ๊คว่าถาวรมั้ย หรือสามารถโอนต่อให้ผู้อื่นได้เหมือนหนังสือเล่มหรือเปล่า หรืออย่างหนึ่งที่มักจะถูกยกมาอ้างถึงบ่อยๆก็เช่นว่าหนังสือมีกลิ่นและสัมผัสที่คุ้นเคย สามารถเปิดดูผ่านๆ (บราวซ์ – browse) ได้สะดวกกว่าอีบุ๊คเป็นต้น ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่าคำถามประเภทนี้ควรจะเลิกคิดเลิกถามกันได้แล้ว เพราะมันจะทำให้หลงประเด็นไปเป็นว่า “สื่ออะไรกำลังจะเข้ามาแทนที่หนังสือ?” เพราะที่จริงแล้วสิ่งที่จะถูกแทนที่หรือเปลี่ยนไปในอนาคต ไม่ใช่หนังสือกระดาษหรือแม้แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สิ่งที่กำลังเปลี่ยนไปคือ “กระบวนการ” ในการรับสารหรือเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ของคนยุคใหม่มากกว่า ดังนั้นคำถามที่ถูกจึงควรจะเป็นว่า “คนในยุคหน้าเขาจะรับรู้เรื่องราวต่างๆ อย่างไร?” ซึ่งคำตอบคงไม่ใช่การอ่านตัวหนังสือล้วนๆ อย่างเดียว (ไม่นับการอ่านงานวรรณกรรม) แต่น่าจะเป็นการผสมผสานระหว่างข้อความ (ที่สั้นลง) กับภาพสวยๆ เสียงบรรยายหรือเล่าเรื่อง (เช่นในหนังสือเสียงหรือ audio book) วิดีโอ และอาจรวมถึงการโต้ตอบต่างๆ (interactive – […]

ไป(หัด)เล่นสกีที่ Hilton Niseko Village

  เมื่อต้นปี 2014 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปเยือนและลองเล่นสกีเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ Hilton Niseko Village รีสอร์ทครบวงจรขนาดใหญ่ที่เกาะฮอกไกโด เลยเก็บภาพและเรื่องมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อใครคิดจะไปลองเล่นสกีดูบ้าง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้ว ถึงจะไม่ง่ายมาก แต่ก็ไม่ยากอย่างที่คิดนะครับ 🙂  

Interstellar – ขอบฟ้าที่บรรจบของ Sci-Fi กับหนังตลาด

ถ้าจะมีใครทำหนังอวกาศขึ้นมาใหม่ แล้วให้การผจญภัยที่ดูเหมือนไม่ไฮเทคจนไกลโพ้นแบบ Star Trek หรือ Star Wars ที่แค่กดปุ่มก็โจนเข้าสู่ความเร็วเหนือแสงได้ง่ายแค่พริบตา เอาแค่เทคโนโลยีที่ไม่ไกลตัวมาก ประมาณอนาคตอันใกล้ที่มนุษย์ไปถึงได้แค่ดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะของเรา แบบหนัง Mission to Mars หรือ Red Planet ที่ไปดาวแค่อังคาร ความท้าทายคือจะทำยังไงให้มันยิ่งใหญ่ อลังการงานสร้าง และที่สำคัญที่สุดคือต้อง “ดูสนุก” พอที่จะทำกำไรให้สตูดิโอที่ลงทุนด้วย…

(Warning! spoiler ahead – ถ้าคุณยังไม่ได้ดู อย่าเพิ่งอ่านต่อนะครับ)

ท่องโลกกับ Smart Device

หลายคนชอบพูดว่า “ชีวิตคือการเดินทาง” และอีกหลายคนชอบเอาการเดินทางไปผูกกับอุปกรณ์ทันสมัยไฮเทคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้องดิจิตอล สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค ฯลฯ ที่ไปไหนต้องพกไปด้วย ไม่งั้นรู้สึกเหมือนกับขาดอะไรไปสักอย่าง สำหรับผมต้องขอสารภาพตามตรงว่าเป็นทั้งสองอย่างเลย เพราะเป็นคนทำหนังสือด้านเทคโนโลยีมานานนับสิบปี แต่หลังๆ มาทำหนังสือคู่มือท่องเที่ยว ที่จริงผมชอบเดินทางมาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ยุคที่ยังไม่มีสมาร์ทโฟนหรืออินเทอร์เน็ตให้ใช้ บางประเทศก็ไปบ่อยปีละหลายครั้ง หรือไปแบบปุบปับ เอกสารไม่เรียบร้อย จนโดน ตม. (เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง) หลายประเทศ (ออสเตรเลีย, อเมริกา, ..) เรียกเข้าห้องเย็นไปสอบปากคำมาแล้วมากกว่าหนึ่งหน 🙁