Entries by วศิน เพิ่มทรัพย์

Internet tethering ใช้อะไรดี : USB, Wi-Fi หรือ Bluetooth?

ทุกวันนี้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเบล็ตของเราเริ่มมีความเร็วสูงขึ้น จนชักจะแซงหน้าสาย ADSL ของเน็ตบ้านไปเสียแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาอัพโหลดที่เน็ตตามบ้านมักจะปล่อยมาให้แค่ 512 K บิตต่อวินาที (0.5 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งต่อไปขอเขียนย่อสั้นๆ ว่าเมกะบิต) ถึง 1 เมกะบิตเท่านั้น แต่เน็ตมือถือ 3G ทำได้มากกว่านั้น บางทีก็ขึ้นไปถึง 2-3 เมกะบิต ยิ่งถ้าเป็น 4G ที่บางค่ายกำลังโฆษณาให้ทดลองใช้นั้นเวลาว่างๆ ขาลงหรือดาวน์โหลดอาจทำได้ถึง 30 เมกะบิต ส่วนขาขึ้นอาจทำได้ถึง 7-8 เมกะบิตทีเดียว ดังนั้นเราจึงมีโอกาสหรือเหตุผลที่อยากจะเอาอุปกรณ์อื่นๆ มาต่อเน็ตผ่านมือถือมากขึ้น บ่อยขึ้น โดยเฉพาะเวลาอัพไฟล์ใหญ่ๆ อย่างวิดีโอขึ้น YouTube เป็นต้น คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วจะต่ออุปกรณ์อื่นผ่านเน็ตมือถือ หรือที่เรียกกันอย่างกลางๆ ว่า Tethering (ฝั่ง Android จะใช้ว่า Tethering and portable hotspot ส่วนฝั่ง iOS จะใช้ว่า Personal hotspot) ด้วยวิธีการแบบไหนดี […]

ระบบสแกนลายนิ้วมือแบบ Optical ของ iPhone 5s?

หลายเดือนที่ผ่านมา มีข่าวลือเกี่ยวกับปุ่ม Home ของ iPhone รุ่นถัดไปที่จะออกราวๆ ไตรมาสที่สี่ของปีนี้ (ซึ่งจะเรียกว่า iPhone 5s หรือไม่ก็ยังไม่แน่) ว่าปุ่มดังกล่าวจะกลายเป็นแบบ Optical สำหรับใช้อ่านลายนิ้วมือของผู้ใช้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการล็อคเครื่องให้มากขึ้น ข่าวดังกล่าวเป็นที่ฮือฮากันอยู่พักหนึ่งก็ค่อยๆ ซาไป มีแต่เสียงตอบรับประเภทว่าไม่น่าเป็นไปได้ ไม่เห็นมีประโยชน์คุ้มค่า อะไรทำนองนั้น ซึ่งใครที่เคยใช้โน้ตบุ๊คที่มีตัวอ่านลายนิ้วมือคงนึกออกว่าจะใช้แต่ละทีต้องเอานิ้วรูดผ่านช่องเล็กๆ ซึ่งหากนานๆ เปิดเครื่องใช้ทีก็สะดวกดี ไม่ต้องใส่พาสเวิร์ด แต่ถ้าเป็นอะไรที่ต้องเปิดๆ ปิดๆ บ่อยแบบสมาร์ทโฟนก็อาจไม่สะดวกนัก แต่ข่าวล่าสุดกลับดูเหมือนว่าความสามารถในการอ่านลายนิ้วมือจะเป็นอะไรที่มากับ iPhone รุ่นใหม่แน่ๆ ในรูปแบบที่เราอาจนึกไม่ถึง ลองดูกันว่าจะเป็นอย่างไร

เก็บตก iOS 7 และอื่นๆ จากเมื่อคืนของ Apple

บังเอิญว่าเมื่อคืนถ่างตารอดูงาน WWDC (World Wide Developer Conference) ของ Apple แล้วก็เห็นอะไรๆมากมายหลายอย่าง ทั้ง Mac OSX 10.9 ใหม่ที่ชื่อ Mavericks, iOS 7 และเครื่อง Macbook Air กับ Mac Pro ใหม่ เลยมีอะไรเล็กๆ น้อยๆ มาเล่าสู่กันฟัง … สำหรับใครที่ใจร้อน Apple สรุปความสามารถใหม่พร้อม animated demo ของ iOS 7 ไว้ที่ http://www.apple.com/ios/ios7/#videos ดูกันได้เลยครับ

ลองเล่น iPad mini (update)

  บังเอิญว่ามีโอกาสเอา iPad mini มาลองเล่นหลายชั่วโมงอยู่ ก็เลยเก็บเอาความรู้สึกเท่าที่ได้มาเล่าสู่กันฟังเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ แต่บอกก่อนว่าตอนนี้มีของเข้ามาแค่แบบ Wi-Fi นะครับ รุ่นที่เป็น 4G ยังไม่เข้ามา – หยิบมาปุ๊บ โห! บางและเบามากจนน่าตกใจ ก็มันเบากว่า the New iPad (iPad 3) ตั้งครึ่งนึง พกพาถืออ่านสบายกว่ากันเยอะเลย และบางจนเริ่มรู้สึกใกล้คียงกับเครื่องอ่าน e-book จำพวก e-ink อย่าง Kindle ของ Amazon เข้ามาอีกเยอะ – จอภาพ ไม่ใช่ Retina display ความคมชัดน้อยกว่า the New iPad (iPad 3) อย่างรู้สึกได้ โดยเฉพาะถ้าอ่านภาษาไทยตัวเล็กๆ ซึ่งอักษรมีหาง (serif) จะรู้สึกรำคาญอยู่พอควร แต่ถ้าอ่านภาษาอังกฤษหรือเล่นเกม ดูหนังฟังเพลงเป็นส่วนใหญ่ ก็จะไม่ค่อยรู้สึกมากนัก ส่วนขนาดจอนั้นมีพื้นที่เล็กกว่าเดิมเพียง 2 […]

App เอะอะอะไรๆก็แอ็พ ไม่ใช้โปรแกรมกันแล้วหรือ?

สำหรับมือใหม่ที่เริ่มเข้ามาใช้แท็บเบล็ตหรือสมาร์ทโฟน คำถามยอดฮิตอันหนึ่งคือ “แอพ (app) คืออะไร ต่างจากโปรแกรมอย่างไร ทำไมอะไรๆก็ต้องใช้แอพ?” วันนี้เราจะมารู้จักตัวตนของแอพกันครับ App ย่อจาก application ความจริงมันก็คือโปรแกรมชนิดหนึ่งนั่นเอง แต่มักจะหมายความเจาะจงถึง mobile application ที่ทำงานในอุปกรณ์พกพาจำพวกสมาร์ทโฟนหรือแท็บเบล็ตนั่นเอง ?(ส่วนพวกที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ระบบอื่นๆ มันกำลังจะมาแรงในปีนี้ครับ พร้อมกับ mac ?app store ?ที่ออกมาแล้ว และ Windows 8 ที่กำลังจะออก) โดยลักษณะที่ปรากฏก็จะเป็นไอคอนหรือปุ่มให้เรียกใช้ได้เลย ดังนั้นในมุมมองนี้แอพกับโปรแกรมก็ไม่ต่างกัน

ทำไมสำนักพิมพ์ได้กำไรจากอีบุ๊คน้อยกว่าหนังสือเล่ม?

ข้อมูลจากหลายๆประเทศที่เริ่มมีการขายอีบุ๊คกันอย่างแพร่หลายพอสมควร บอกว่าสำนักพิมพ์ส่วนมากบ่นกันว่าการขายอีบุ๊คได้กำไรน้อยกว่าหนังสือเล่ม ซึ่งฟังแล้วดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้ เพราะการนำเสนอ content ผ่านรูปแบบ electronics media ไม่ต้องมีค่ากระดาษ ค่าพิมพ์ ไม่น่าจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการพิมพ์หนังสือออกมาเป็นเล่ม แต่ความจริงแล้วเศรษฐศาสตร์ที่แตกต่างของต้นทุนและราคาขายในแต่ละประเทศ มีผลอย่างมากในการทำกำไรของสำนักพิมพ์ ในด้านบวก สิ่งที่สำนักพิมพ์จะลดต้นทุนได้ในกรณีของ e-book ก็คือ ค่ากระดาษ ค่าเพลท ค่าพิมพ์ ? ลดการสูญเสียของหนังสือที่เหลือคืนหรือพิมพ์เกินกว่าที่ขายได้ ส่วนค่าใช้จ่ายในการเตรียม content หรือ pre-press น่าจะใกล้เคียงกัน ซึ่งคงต้องดูในรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ จากการที่ราคาหนังสือต่างประเทศนั้นค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับของไทย (ถึงแม้ราคานั้นจะจัดว่าถูกเมื่อเทียบกับค่าครองชีพของประเทศนั้นๆ ก็ตาม) เช่น 5-6 ร้อยบาท เทียบกับบ้านเรา 2-3 ร้อยบาท ในขณะที่ต้นทุนการพิมพ์อาจจะไม่ต่างกับบ้านเรามากนัก เช่น 50-100 บาท ดังนั้นค่ากระดาษ ค่าพิมพ์ ที่ลดลงได้จึงเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าของไทย เช่นของต่างประเทศอาจเป็นเพียง 10% เท่านั้น ในขณะที่บ้านเราอาจมีสัดส่วนค่าพิมพ์ที่ลดได้สูงถึง 20% ดังนั้น e-book จึงมีส่วนที่ลดต้นทุนให้สำนักพิมพ์ไทยได้มากกว่า ในส่วนของการลดการสูญเสียหนังสือคืนหรือพิมพ์เหลือแล้วขายไม่ได้นั้น ตัวเลขจากผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่อย่างซีเอ็ดยูเคชั่นบอกว่าค่าเฉลี่ยทั้งหมดของวงการใกล้จะแตะ […]

รายชื่อผู้ให้บริการ e-book ในเมืองไทย

[UPDATE 11/11/2564 : กำลังรวบรวมรายชื่อล่าสุดของปี 2564 แล้วจะอัพเดทอีกทีหลังย้ายเว็บไซท์จาก thaiebook.info มารวมไว้ที่ vasinp.com เรียบร้อยนะครับ] [update และแบ่งกลุ่มใหม่ตามผู้พัฒนาโปรแกรม ? ถึงวันที่ 11/07/55] I Love Library (Openserve) http://www.ilovelibrary.com Mobile E-Book (MEB by ASK Media) http://mebmarket.com? CU-eBook Store (also by ASK Media) ebooks.in.th (PORAR Web Application) http://ebooks.in.th ZhAke BookStore (Outer Box) http://www.facebook.com/zhakebookstore และ www.zhake.com SWipeBook (SiamSquared Technologies) http://www.swipebook.com (?) eBooks (Asia Books) http://www.asiabooks.com/ThaiEBooksPage.aspx Se-ed http://www.se-ed.com Naiin PANN (Amarin) http://naiin.com Tato (G-Softbiz) http://www.thai-g.com และ http://www.tatointeractive.com Hytexts http://www.hytexts.com (ใช้ Bluefire […]

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ e-book (3)

3. E-book จะมีความสามารถในการทำ interactive กับผู้อ่านได้มากขึ้น ข้อนี้ก็จริงแค่บางส่วน เพราะการทำ interactive ต้องอาศัยความสามารถในการพัฒนาเนื้อหาไปพร้อมๆกับการใช้ความสามารถของซอฟต์แวร์สร้าง e-book แต่สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ทำหนังสือเล่ม อาจคุ้นเคยกับการสร้างภาพและตัวหนังสือนิ่งๆ เป็นหลัก การทำ interactive ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ การถ่ายวิดีโอ ใส่เสียงประกอบ ฯลฯ อาจกลายเป็นหน้าที่ของผู้เขียนที่จะต้องคิดเตรียมมาตั้งแต่ต้นทาง แล้วใช้เครื่องมือง่ายๆ ทำเองเลย เช่น iBooks Author ในแพลทฟอร์มระบบ iOS ของ Apple มากกว่า 4. E-book จะมีหน้าตาสวย และลูกเล่นแบบ e-magazine อันนี้ในอนาคตน่าจะได้เหมือนๆกันหมดครับ ส่วนในปัจจุบันก็แล้วแต่ฟอร์แมทของร้านออนไลน์แต่ละแห่ง ถ้าเป็นร้านออนไลน์ของไทยส่วนใหญ่จะจัดหน้าสวยเหมือนหนังสือ คือหน้าต่อหน้า เพราะร้านออนไลน์บ้านนิยมแปลงไฟล์ที่สำนักพิมพ์ส่งมาให้ในรูปแบบ PDF มาเป็น e-book โดยตรงหน้าต่อหน้า ก็เลยได้สวยเท่าหนังสือเล่มฉบับพิมพ์ แต่ไม่มีอะไรมากกว่านั้น ซึ่งการทำแบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือหน้าต่อหน้าอ้างอิงได้ตรงกับฉบับพิมพ์ การจัดรูปแบบของข้อความในแต่ละหน้าก็อยู่ครบ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของรูปและข้อความ แต่ข้อเสียคือไม่สามารถปรับขนาดฟอนต์ให้ตัวใหญ่หรือเล็ก แล้วให้มีการจัดข้อความใหม่ตามขนาดอักษรที่เลือก (reflow text) […]

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ E-book (2)

2. E-book จะมาทดแทนหนังสือฉบับพิมพ์ และทำให้หนังสือเล่มขายได้น้อยลง [Newsstand ใน iPad ทำให้การเลือกอ่านวารสารต่างๆ ในรูปแบบ e-magazine กลายเป็นเรื่องธรรมดาๆ การหยิบหนังสือจาก Bookshelf ของ Amazon, iBooks หรือร้านออนไลน์อื่นๆ ของไทยก็น่าจะค่อยๆกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปในไม่ช้า] ข้อนี้ต้องแยกประเด็นว่า “หนังสือ” อะไร ถ้าเป็นหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ประเภทที่เราอ่่านกันผ่านๆ อ่านแล้วก็ทิ้งไป หรือเรียกว่า casual reading นั้นน่าจะเริ่มเห็นผลกระทบของ e-book หรือ e-magazine มากขึ้นทุกที คาดกันว่าในไม่ช้านิตยสารฉบับพิมพ์คงจะค่อยๆ หายไปหมด แบบเดียวกับที่หนังสือพิมพ์ต้องไปขึ้นเว็บหรือปล่อยข่าวออนไลน์กันหมดแล้วในตอนนี้ แต่ถ้าเป็นหนังสือเล่มแบบที่อ่านเอาจริงเอาจังหรือ serious reading นั้นน่าจะเห็นผลช้ากว่า หลายแหล่งคาดกันว่าหนังสือเล่มจะไม่ถึงกับหายไปเลย แต่จะค่อยลดการเติบโตลงจนถึงขั้นไม่โตหรือหดตัวลงอย่างช้าๆ แต่อีกสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือเราจะมีหนังสือแบบ e-book ให้เลือกอ่านกันมากมายกว่าเดิม เพราะหนังสืออีกจำนวนมากที่ไม่เคยมีโอกาสตีพิมพ์เพราะคาดว่ามีผู้อ่านจำนวนน้อยเกินไป ไม่คุ้มต้นทุนในการผลิต เช่น สีทั้งเล่ม ก็จะมีโอกาสพิมพ์ออกมาในรูปแบบ e-book มากขึ้น รวมทั้งนักเขียนหน้าใหม่ๆ ที่สร้างงานเองแล้วทำออกมาเป็น e-book เข้าร้านออนไลน์เลยโดยไม่ผ่านสำนักพิมพ์ก็จะมีมากขึ้น […]