Entries by วศิน เพิ่มทรัพย์

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ E-book (1)

เมื่ออุปกรณ์อ่าน e-book เริ่มแพร่หลาย และสำนักพิมพ์/ร้านออนไลน์เริ่มทำหนังสือออกจำหน่ายในรูปแบบ e-book มากขึ้น ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ e-book หลายๆ อย่างที่คาดหวังหรือเชื่อกันมาแต่เดิมก็เริ่มกระจ่างชัดขึ้น อาทิเช่น 1. E-book จะทำให้หนังสือถูกลงได้หลายๆ เท่า เพราะสำนักพิมพ์จะขาย e-book ตรงให้ลูกค้าเลย E-book ไม่ได้ทำให้หนังสือถูกลงมากถึงขนาดหลายๆ เท่าอย่างที่เคยคิดกัน เราเริ่มเห็นกันแล้วว่า ราคาหนังสือในรูปแบบ e-book ถูกกว่าฉบับพิมพ์บนกระดาษเพียงเล็กน้อย เช่น 20-30% (และมีแนวโน้มว่าอาจจะเพิ่มขึ้นหากยอดขายยังไม่สูงอย่างที่คาดหวังกัน) ทั้งนี้เพราะต้นทุนที่ลดลงของสำนักพิมพ์ มีแต่ส่วนของค่าพิมพ์ ค่าเพลท+แยกสีในระบบออฟเซ็ท และที่เป็นสัดส่วนมากที่สุดก็คือค่ากระดาษเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแค่ 20-30% ของราคาปกเดิม แต่ค่าใช้จ่ายหลักคือค่าจัดจำหน่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ไม่ได้ถูกลงมากนัก คืออยู่ราว 30-40% ต่างกันไปตามระบบของร้านและแพลทฟอร์มที่ใช้ (เช่น ในระบบ iOS ของ Apple มีการคิดหัก 30% เปอร์เซ็นต์ซึ่งสูงกว่าระบบอื่น แต่ก็แลกมาด้วยฐานลูกค้าที่มีแนวโน้มจะควักกระเป๋าซื้อในสัดส่วนที่มากกว่า) รวมๆ แล้วค่าใช้จ่ายส่วนนี้ใกล้เคียงหรือถูกกว่าการจัดจำหน่ายหนังสือฉบับพิมพ์เพียงเล็กน้อย หรือบางกรณีอาจแพงกว่าเสียด้วยซ้ำ เพราะผู้ขายหรือร้านออนไลน์ก็เห็นว่าน่าจะขอแบ่งส่วนที่สำนักพิมพ์ลดต้นทุนการพิมพ์ได้มาชดเชยค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและดูแลระบบร้่านออนไลน์ของตนบ้างจากเดิมที่เคยคิดกันว่าเมื่อสำนักพิมพ์แต่ละราย ทำหนังสือในรูปแบบ e-book แล้วขายโดยการให้ดาวน์โหลดตรงไปยังอุปกรณ์ของผู้ซื้อเลย […]

Playing Digital ? เล่นสนุกยุคดิจิตอล

หลายปีก่อนมีหนังสือเล่มนึงชื่อ Being Digital ของ ศจ. Nicolas Negroponte แห่ง Media lab ของ MIT พูดถึงแนวโน้มของโลกในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอลโดยรวม จัดว่า เป็นหนังสือคลาสสิคเล่มหนึ่งของวงการ เป็นคัมภีร์ที่ใครๆ ในแวดวงไอทีต้องหามาอ่านกันในยุคนั้น และยังเป็นที่มาของแนวคิดในเรื่องของอะตอม (อนาล็อก) กับบิต (ดิจิตอล) ว่าสามารถทดแทนกันได้อย่างไร เรื่องที่ผมจะเล่าในวันนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องย่อยของ Being Digital อีกทีหนึ่ง คือเราจะมาโฟกัสกันที่ Playing หรือการ “เล่นสนุก” ด้วยเกมและอนิเมชั่นเป็นหลัก โดยได้ แรงบันดาลใจมาจากนิทรรศการ “Digiplay – เล่นสนุกยุคดิจิทัล” (Digiplay: Thai-UK Digital Festival) ที่จัดขึ้นโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC – Thailand Creative & Design Center) ร่วมกับบริติชเคาน์ซิล ที่บริเวณนิทรรศการของ TCDC ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม […]

e-book กับจุดจบของสิ่งพิมพ์แบบที่คุณเคยรู้จัก

ที่จริงว่าจะจั่วหัวเป็นภาษาประกิตว่า “e-book and the end of publishing as you know it” แต่เขียนเป็นไทยน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า หรือหากจะให้แรงหน่อยอาจเขียนเป็น “e-book ส่งเสริมหรือทำลายวงการหนังสือ” แต่เกรงว่าจะแรงไปนิด เอาแค่สะกิดต่อมรับรู้กันพองามละกันนะครับ 😉 ก่อนจะไปถึงเรื่องว่า e-book มีผลกระทบอย่างไรกับวงการหนังสือ คงต้องดูกันก่อนว่า e-book ปัจจุบันหน้าตาอย่างไร มีกี่จำพวก เพราะเดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยมองหรือนึก ถึง e-book บนคอมกันซักเท่าไหร่แล้ว พอพูดขึ้นมาปั๊บก็มักจะนึกถึงบน reading device ทั้งหลายแหล่ เช่น iPad, Kindle, smartphone ที่รวมกันทุกระบบแล้วนับหลายล้านเครื่องในเมืองไทย และบรรดาแท็บเบล็ตระบบ Android ทั้งหลายแหล่ที่จะพาเหรดกันออกมาเต็มตลาดในปีนี้ในราคาที่ถูกจนน่าตกใจ เช่น 3-4 พันบาท เป็นต้น e-book ที่จะอ่านได้และคาดว่าจะเป็นที่นิยมบนอุปกรณ์เหล่านี้ เท่าที่เห็นอาจจะมีราวๆ สามกลุ่ม (แต่ไม่ได้จำกัดแค่นี้ เพราะยังคงมีคนคิดอะไรใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ) ดังนี้ กลุ่มแรก คือพวกที่มีตัวหนังสือและภาพนิ่งล้วนๆ อย่างที่ Amazon ขายอยู่บน […]

“Curation” is the King ? เมื่อ content ตกกระป๋อง!

การที่ content หรือเนื้อหาสาระต่างๆ ที่ผู้อ่านต้องการเสพย์ ไม่ว่าจะด้วยการอ่าน รับชม หรือรับฟังก็ตาม จะมีบทบาทสำคัญที่สุดได้นั้นก็ต่อเมื่อเนื้อหาสาระอย่างเดียวกันนั้น หาทดแทนไม่ได้จากที่อื่น หรือหาได้ไม่มาก มีตัวเลือกที่จำกัด ไม่ใช่มีกลาดเกลื่อนมากมายจนไม่รู้อะไรดีอะไรมั่ว แต่ในปัจจุบันนี้เมื่อเทคโนโลยีอำนวยให้ใครๆก็สามารถสร้าง content ได้ง่ายๆ จึงนำเรากลับมาสู่ประเด็นที่ว่า ?Curation is the (new) King? คือในอนาคตข้างหน้า คนที่รวบรวมคัดสรร content นั่นแหละเป็นพระเอกตัวจริง

Nano Edition หรือนี่คือเทรนด์ของวารสารเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ iPad ?

เมื่อวานผมแวะร้านหนังสือในสนามบินฮ่องกง เห็นเทรนด์วารสารหลายหัวมากปรับเล่มเล็กลง บ้างก็เรียกว่าเป็น Nano edition ดูแล้วเหมือนว่าเทรนด์ใหม่วารสารฉบับพิมพ์คือการปรับรูปเล่มให้เล็กลง พกสะดวก และขนาดหน้าใกล้จอ iPad มากขึ้น ที่จริงวารสาร small size แบบนี้มีทำกันมาก่อนแล้ว แต่ตอนนี้เริ่มเห็นมากขึ้น คาดว่าเตรียมเผื่อแปลงไปลง tablet ขนาด 9 นิ้วเช่น iPad ทั้งนี้การปรับหน้ากระดาษวารสารกับหน้าจอให้ขนาดใกล้กัน มองอีกมุมอาจเป็นอุบายปรับให้ผู้อ่านคุ้นชินกับแบรนด์นั้นในไซส์เล็กที่จะได้เห็นบ่อยขึ้นในอนาคตบนจอ tablet และยังแก้ปัญหาการเอาวารสารในขนาดเดิมลง tablet ที่ทำกันอยู่เดิมด้วย ซึ่งที่ทำกันอยู่มักใช้วีธีย่อทั้งหน้า เช่นเดียวกับการย่อฉบับพิมพ์ ซึ่งถ้าเป็นภาษาอังกฤษ การย่อขนาดวารสารยังอ่านได้สบายบนฉบับพิมพ์ เพราะความละเอียดของการพิมพ์จะสูงมาก (ความละเอียดเม็ดสกรีนสี่สีอยู่ที่ 150-200 จุดต่อนิ้ว) แต่บนจอ tablet ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันความละเอียดยังต่ำอยู่ เช่นประมาณ 100 จุดต่อนิ้ว ซึ่งไม่พอ ทำให้ผู้ใช้อาจต้องคอยซูมเข้าซูมออกตอนอ่าน ที่หนักกว่านั้นคือถ้าเป็นฟอนต์ภาษาไทยซึ่งมีหาง มีขีดเล็กๆ อย่างสระอี กับสระ อือ จะยิ่งอ่านยาก แต่หากปรับลดขนาดลงลงแล้วจัดหน้าใหม่ตามขนาดที่เหมาะสมด้วยเลย ช่วยให้อ่านลื่นไม่ต้องซูม

iPad เตรียมเปิดตัวในเมืองไทย ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้

ข่าว iPad เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเมืองไทยนั้นเป็นเรื่องที่สื่อทั้งหลายเกาะติดกันมาระยะหนึ่งแล้ว หลังจากที่เลื่อนมาจากกลางเดือน เนื่องจาก iOS 4.2 ระบบปฏิบัติการที่จะทำให้ iPad ทำงานได้ราบรื่นและคล่องตัวเทียบเท่า iPhone 4 ด้วยคุณสมบัติใหม่ๆ เช่น Multitasking และการจัดโฟลเดอร์ แถมยังสนับสนุนคีย์บอร์ดภาษาไทยแบบเกษมณี (ฟ ห ก ด) ในตัวเลยนั้น? ไม่สามารถปล่อยออกมาได้เนื่องจากมีการพบข้อผิดพลาด (Bug) ในการเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi จนต้องเลื่อนกำหนดการอัพเดท iOS 4.2 ออกไป ซึ่งก็คาดกันว่าไม่เกินวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้

ไอทีเป็น “หนทาง” ไม่ใช่ “ปลายทาง” – ตอนที่ 2

ถัดจากที่อธิบายไปในตอนที่แล้ว เมื่อทุกอย่างขึ้นอยู่บน Cloud และต้องเข้าใช้ผ่านเน็ต เราก็ต้องการความเร็วในการเชื่อมต่อที่สูงขึ้น ซึ่งถึงแม้จะเป็นอุปกรณ์ใช้สายหรือไร้สายก็ติดตรงนี้ทั้งคู่ และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเกิดความต้องการที่จะรันแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพาที่สามารถต่ออินเทอร์เน็ตได้ หรือที่เรียกรวมๆ ว่า Mobile Internet Device (MID) ซึ่งรวมถึงสมาร์ทโฟน แท็บเบล็ต เน็ตบุ๊ค โน้ตบุ๊ค หรือแม้แต่กล้องดิจิตอลบางรุ่นที่สามารถถ่ายแล้วอัพรูปขึ้นเน็ตได้ในตัวเลยก็อาจจัดเป็น MID ได้เช่นกัน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ทำงานด้วยแบตเตอรี่ จึงต้องประหยัดไฟและมักไม่สามารถจะทำให้มีกำลังในการประมวลผลสูงๆ (ใช้ซีพียูรุ่นแรงๆ) ได้มากนัก การรันทุกอย่างภายใต้บราวเซอร์บางครั้งก็กินกำลังเครื่องมากเกินไป จนเกิดความจำเป็นในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นขนาดเล็กบนอุปกรณ์เหล่านี้ขึ้น อย่างที่เราเห็นใน iPhone (รวมถึง iDevice ทั้งหลายเช่น iPad, iPod), Android และอื่นๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดี เช่นมีการจัดหน้าจอแสดงผลไว้ล่วงหน้าแล้ว ดึงเฉพะาข้อมูลที่จำเป็นในการทำงานผ่านเน็ตไปใช้เท่านั้น ทำให้ทำงานเร็วขึ้นและ User interface สามารถปรับให้เหมาะกับแต่ละเครื่องแทนที่จะเป็นแบบกลางๆ ไม่ขึ้นกับหน้าจออุปกรณ์อย่างกรณี web application แต่ก็ไปติดข้อจำกัดเรื่องการ deploy คือแจกจ่ายแอพรุ่นล่าสุดให้ไปรันบนแต่ละอุปกรณ์ จึงกลายเป็นแนวทางที่ทุกระบบยายามทำ app store ขึ้นมาเอง เพื่อให้สามารถแจกจ่ายแอพฯ รุ่นล่าสุดได้ง่าย […]

ไอทีเป็น ?หนทาง? ไม่ใช่ ?ปลายทาง? ? ตอนที่ 1

กลางวันของวันนี้ผมได้รับเชิญไปพูดในหัวข้อ ?ทันโลก & ออนไลน์ เรื่องง่ายใกล้ๆ ตัว? ให้ กับสมาชิกสโมสร Rotary สระปทุมฟัง รายละเอียดรวมๆ ก็คือ เป็นเรื่องของการที่เราต้องตามให้ทันโลก โดยการออนไลน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคนและไม่ยากเกินไป แค่ทำใจให้ชอบเท่านั้น (ไม่ใช่ฝืนใจหรือนั่งทำใจแต่ไม่ทำอะไรต่อ 😉 ประเด็นหนึ่งที่ ผุดขึ้นมาในระหว่างที่เตรียมหัวข้อที่จะพูดก็คือ ทำไมคนยุคปัจจุบันต้องออนไลน์? เหตุก็เพราะข้อมูลความรู้ทั้งหลายนั้นหาได้จากเน็ต และหาได้ในแบบ ?พอดีคำ? คือในเวลาที่ต้องการและในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ใช่ต้องค้นต้องอ่านกันเป็นตั้งๆ เพื่อเพียงจะหาข้อมูลปลีกย่อยอะไรบางอย่าง เช่นข้อมูลที่ได้จากบริการสารานุกรม เช่น Wikipedia, บริการ Search เช่น Google, Yahoo! หรือ Bing นอกจากนี้เรายังต้องพึ่งพาบริการออนไลน์อีกหลายอย่าง ทั้งอีเมล์ แผนที่ แชร์ไฟล์หรือแบ่งปันข้อมูล ยังไม่รวมถึงหนัง เพลง วิดีโอ ฯลฯ ซึ่งบ้างก็เป็นบันเทิง บ้างก็เป็นสาระ ปะปนกันไป

E-Book จะเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค (ผู้อ่าน) ได้จริงหรือ ?

สมมติว่าผมไปเดินอยู่ในร้านหนังสือ ปกติเห็นปั๊บถ้าถูกใจก็จะซื้อเลย เพระากลัวว่าถ้าอยากได้ขึ้นมาทีหลังแล้วจะหมดสต็อค หรือหาไม่ได้ บางทีซื้อไปเก็บจนลืม ซื้อซ้ำก็มี แถมบางเล่มกว่าจะมีเวลาหยิบมาอ่านก็ล้าสมัยเสียแล้ว เช่นพวก e-business ต่างๆ แต่ทีนี้ถ้าเกิดเห็นปั๊บ แทนที่จะหยิบเล่มที่เห็นตรงหน้าแล้วเดินไปจ่ายเงิน แต่ใช้มือถือเช็คใน Amazon.com ดูก่อนว่ามีแบบ e-book (Amazon เรียกว่า Kindle edition) หรือเปล่า ถ้ามีก็.. โอนะ ไม่มีการหมดสต็อคแน่ จัดการ Add เช้า Wish list เอาไว้ก่อน เอาไว้มีเวลาว่างค่อยซื้อและโหลดมานั่งอ่าน (เชื่อได้ว่ากว่าครึ่งจะไม่มีโอกาสได้อ่าน เพราะไม่มีเวลา กว่าจะมาหยิบอีกทีก็สายเสียแล้ว ล้าสมัยเกินไป) ปรากฏว่าคราวนี้ดีจัง ตังค์อยู่ครบ 😉 ไม่เสียตังค์ซักกะบาท จนกว่าจะอยากอ่านขึ้นมา นอกจากจะจ่ายช้าลงแล้วบางทียังไม่ต้องจ่ายด้วย ถ้า คนอ่านเป็นแบบนี้กันหมดไม่รู้สำนักพิมพ์จะขายหนังสือได้มากขึ้น (เพราะคนไม่ต้องมานั่งเสียดายของเก่าที่ซื้อไปแล้วยังไม่ได้อ่าน) หรือจะขายได้น้อยลง (เพราะคนจะซื้อลดลงจนเหลือเท่าที่อ่านไหวเท่านั้น) อันนี้ใครคิดออกช่วยบอกทีครับ ^_^