Entries by วศิน เพิ่มทรัพย์

นั่งยูโรสตาร์ เปิดฟ้าบรัสเซลส์

ตุลาคม 2007 : สถานีรถไฟวอเตอร์ลู ลอนดอน ชานชาลาสำหรับรถด่วนยูโรสตาร์? หลังจากแบกเป้ขึ้นหลัง และลากกระเป๋าเดินทางใบเขื่องที่หนักกว่า 20 กิโลถูลู่ถูกังจากโรงแรมออกมาตามทางเท้า ข้ามถนน ลงบันไดธรรมดา ลากต่อ ลงบันไดเลื่อน ขึ้นรถไฟใต้ดิน (คนที่นี่เขาชอบเรียก Tube คือรถไฟตามท่อ) ผมก็มาถึงสถานี Waterloo ทางฝั่งใต้ของแม่น้ำเทมส์ ต้นทางรถด่วน Eurostar ก่อนเวลาเป็นชั่วโมง ก็ค่าแท็กซี่ที่นี่มันแพงนะครับ ตอนนั้นเงินอังกฤษตกปอนด์ละ 70 บาท ขืนขึ้นแท็กซี่มาขึ้นรถไฟ ค่าแท็กซี่คงแพงกว่าค่ารถไฟไปเป็นพันบาท ใครๆที่นี่เขาก็ขึ้นรถ tube กันทั้งนั้นแหละ ผมกำลังอยู่ระหว่างทางจากลอนดอนไปแฟรงเฟิร์ต เยอรมันนี แต่ด้วยความที่ไม่ค่อยอยากจะบิน เพราะบินแป๊บเดียวแต่ตรวจกระเป๋าค้นของต่อคิวเป็นชั่วโมง เลยขอลองเปลี่ยนบรรยากาศนั่งรถไฟลอดอุโมงค์ EuroTunnel ลอดช่องแคบอังกฤษไปขึ้นที่ฝั่งยุโรปของฝรั่งเศสดูบ้าง แต่เนื่องจากเคยไปปารีสมาบ้างแล้ว จุดแวะระหว่างทางในคราวนี้ที่ไปๆได้ด้วยรถยูโรสตาร์ก็เหลือเพียงกรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียมเท่านั้น วันนี้ก็เลยขอไปนอนเล่นชานกรุงบรัสเซลส์ซักสองคืน ก่อนจะจับรถด่วน Thalys เข้าเยอรมันต่อไป ค่าตั๋วรถไฟก็แพงพอๆกับค่าเครื่องบินนั่นแหละครับ แต่เดินสนุกลุกนั่งสบายกว่ากันเยอะ หิวก็เดินไปซื้อของกินที่ตู้เสบียงเอา แต่ก่อนจะขึ้นรถได้ก็ต้องเช็คอินและ x-ray กระเป๋าคล้ายๆกับขึ้นเครื่องบินเลย เอ รถไฟที่ในเยอรมันไม่เห็นเข้มงวดอย่างนี้นี่นา หรือว่ารถนี่ลอดอุโมงค์ใต้ทะเล […]

20 ที่น่าดูในลอนดอน ริมแม่น้ำเทมส์

สำหรับผู้ที่มาเยือนลอนดอน มีอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่างตั้งอยู่ริมแม่น้ำเธมส์ (Thames) แม่น้ำสายหลักของเมืองนี้ ที่คุณน่าจะได้แวะชม เราจะเริ่มจากต้นน้ำแล้วล่องไปทางปลายน้ำ โดยกลุ่มแรกคือพวกที่อยู่ริมแม่น้ำเทมส์แถวๆ สะพานเวสต์มินสเตอร์ ย่านที่ใครๆ ไปลอนดอนแล้วต้องแวะมา อย่างเช่น   หอนาฬิกาบิ๊กเบนและตึกรัฐสภา หอนาฬิกาบิ๊กเบน อันนี้แทบไม่ต้องบรรยาย รู้จักกันดีอยู่แล้วว่าเป็นหอนาฬิกาใหญ่ยักษ์ที่กลายเป้นสัญลักษณ์ของเมืองนี้ ตึกรัฐสภา อยู่ริมน้ำติดกับหอนาฬิกาบิ๊กเบนนั่นเอง ตึกใหญ่โตโอ่โถงเลียบขนานไปกับแม่น้ำ มีทั้งห้องประชุมสภาสูง (วุฒิสภา) และสภาล่าง (สภาผู้แทนราษฎร) และที่ทำงานของคณะกรรมาธิการต่างๆ วันไหนมีการประชุมสภาก็จะมีการรักษาความปลอดภัยเข้มงวดมากโดยรอบบริเวณ   มหาวิหารเวสมินสเตอร์ (Westminster Abbey) มหาวิหารเวสมินสเตอร์ ซึ่งเป็นที่ประกอบพิธีสำคัญต่างๆ เช่น ราชาภิเษก (สวมมงกุฏขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์อังกฤษ) ปล. อย่าสับสนอย่าสับสนที่นี่กับวิหาร Westminster Cathedral ซึ่งชื่อคล้ายๆ แถมตั้งอยู่ไม่ไกลกันมาก แต่ดังน้อยกว่า   London’s Eye และ London Aquarium ชิงช้าสวรรค์ยักษ์ London’s Eye ที่เคยเป็นเจ้าของสถิติสูงที่สุดในโลกมาตั้งแต่ปี 19xx ก่อนจะถูกเบียดตกไปโดย Singapore Flyer ที่สร้างทีหลังโดยตั้งใจให้สูงกว่านิดนึง […]

กว่าจะมาเป็นภาพยนตร์ I, ROBOT

ตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสาร Videophile ฉบับที่ 82 ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 ปรับปรุงแก้ไขใหม่สำหรับเพิ่มเติมในหนังสือ “ข้าคือหุ่นยนต์” ไหนๆบทความชุด Beyond Movie นี้ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มาหลายตอนแล้ว หากจะละเลยไม่พูดถึงหนังไซไฟที่สร้างจากผลงานของนักเขียนวิทยาศาสตร์มือหนึ่งของโลกอย่างไอแซค อาซิมอฟ ที่กำลังจะออกฉายในเดือนกรกฎาคม 2547 นี้อย่าง I, Robot ก็คงจะดูกระไรอยู่ ใครที่เคยอ่านเรื่องของอาซิมอฟในชุดหุ่นยนต์ ก็คงจะรู้ว่าตอนแรกที่อาซิมอฟเขียนเรื่องเหล่านี้ในราวปี 1950 เศษๆนั้น ได้ออกมาเป็นเรื่องยาวสองเล่มคือ The Caves of Steel (“โลหะนคร”) และ The Naked Sun (“สุริยานคร”) กับเรื่องสั้นรวมเล่มคือ I, Robotซึ่งเรื่อง I, Robot ที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์นั้น ได้ขอยืมตัวละครและสภาพแวดล้อมในยุคอนาคตจากเรื่องชุดหุ่นยนต์ทั้งหมดมาใช้ โดยผนวกกับเรื่องในแนวสืบสวนสอบสวนที่ได้รับอิทธิพลจากเรื่อง The Caves of Steel มากกว่าจะเป็นการหยิบเอาเรื่องใดเรื่องหนึ่งในชุดมาดัดแปลงโดยตรง หนังเล่าถึงยุคอนาคตที่มนุษย์มอบความไว้วางใจให้หุ่นยนต์ทำหน้าที่เป็นทาสรับใช้ผู้ซื่อสัตย์โดยถือ “กฎสามข้อของหุ่นยนต์” (3 laws of Robotics) […]

แผนที่กาแลกซีและกลุ่มดาว จากเนื้อหาในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องดัง

แผนที่กาแลกซีทางช้างเผือก-ภาคโอไรออน (แสดงตำแหน่งพิภพสำคัญตามที่ปรากฏในเรื่อง “สถาบันสถาปนา”)    

การโคจรมาอีกครั้งของ “สถาบันสถาปนา” และวรรณกรรม วิทยาศาสตร์

โดย : ธวัชชัย วงศ์กัณหา [บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “จุดประกายวรรณกรรม” ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545] ในจินตนาการที่ไร้ขอบเขต โลกของวรรณกรรมวิทยาศาสตร์ น่าพิศวง และตื่นเต้นเร้าใจ ณ วันนี้มันได้หวนกลับมาอีกครั้ง คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ชั่วโมงนี้เวลานี้ประชาชนคนไทยเริ่มมีแนวโน้มการบริโภคหนังสือเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และในยุคสมัยที่คอมพิวเตอร์และไฮเทคโนโลยีประเภทต่างๆ เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตมากขึ้น หนังสืออีกประเภทหนึ่งที่นับวันจะมีนักอ่านหันมาให้ความสนใจมากขึ้นทุกขณะ และเข้ามาตีตลาดหนังสือในเมืองไทยอยู่ในขณะนี้ ก็คือหนังสือแนว นิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซี หนังสือแนววิทยาศาสตร์แฟนตาซีนั้น ทั้งเรื่องสั้นและนวนิยาย ใช่ว่าเพิ่งจะมาได้รับความที่นิยมตามกระแส แฮร์รี พอตเตอร์, เดอะ ลอร์ด ออฟ เดอะ ริง ที่กำลังกระตุ้นตลาดงานแปลให้กระพือโหมเหมือนไฟลุกลามทุ่งยามหน้าแล้งเช่นเวลาในนี้ หากแต่นิยายวิทยาศาสตร์แฟนตาซีอยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลานานมาตั้งแต่ยุคเก่าก่อนแล้ว เพียงแต่ไม่ปรากฏสู่วงกว้างให้เห็นเด่นชัดเท่าไหร่นักเท่านั้นเอง ในบางยุคสมัยนิยายวิทยาศาสตร์ก็แทบโดนบดบังจากรัศมีของวรรณกรรมประเภทอื่นที่เข้ามาเป็นที่นิยมในช่วงนั้น จนแทบไม่มีการเยี่ยมหน้ามาให้เห็น กระนั้นด้วยสาระความน่าสนใจจากการใช้เทคนิคแนวทดลองกับสิ่งของแปลกใหม่ ก็ทำให้วรรณกรรมประเภทนี้มีเสน่ห์ และสามารถยืนหยัดคู่สังคมไทยมาได้โดยตลอดรอดฝั่ง รวมทั้งการถ่ายทอดออกมาในรูปสื่ออื่นๆ อาทิ เป็นภาพยนตร์, หนังสือการ์ตูนภาพ,เกมคอมพิวเตอร์,อินเตอร์เนต, ภาพยนตร์การ์ตูน ฯลฯ ซึ่งก็ล้วนได้รับความนิยมมาทุกยุคทุกสมัย งานเขียนและสื่ออื่นๆประเภทวิทยาศาสตร์แฟนตาซีนั้น มีหลากหลายและมีคนอ่านคนดูอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันยังหลั่งไหลมาสู่สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง […]

กว่าจะมาเป็น “สถาบันสถาปนา”

โดย : วศิน เพิ่มทรัพย์ ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์ชุดโลกอนาคต : สถาบันสถาปนา ที่แปลจากผลงานของ ดร.ไอแซค อาซิมอฟ (เรียกให้เต็มยศหน่อย) ครั้งแรกที่แปลโดย บรรยงก์ เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน ซึ่งในครั้งนั้นมี 3 เล่ม เรียกว่าเป็นไตรภาค (Trilogy) คือ สถาบันสถาปนา, สถาบันสถาปนาและจักรวรรดิ และ สถาบันสถาปนาแห่งที่สอง และพบว่านอกจากจะวางไม่ลงแล้วยังเป็นหนังสือที่กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น และเกิดแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นไปของโลกและจักรวาลโดยรวมเป็นอย่างมาก หนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์กันมาหลายครั้ง ตั้งแต่โดย สำนักพิมพ์คอลเลจบุ๊คส์ ออบิท และอื่นๆ แต่ก็ขาดตลาดไปนาน ในการนำกลับมาพิมพ์ใหม่ครั้งนี้ จึงใคร่ขอถือโอกาสรวบรวมเรื่องราวที่ผู้อ่านควรทราบเกี่ยวกับหนังสือชุดนี้ และผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มาเล่าสู่กันฟัง อาซิมอฟเขียนหนังสือเล่มนี้ในครั้งแรกไม่ได้เป็นเล่มๆ แบบที่เราเห็น แต่ได้เขียนเป็นตอนๆ รวมทั้งหมด 9 ตอน โดย 8 ตอนสุดท้าย (ตั้งแต่ตอนที่ 2 – 9) ได้ลงตีพิมพ์ในวารสาร Astounding Science-Fiction ที่มี John […]

กว่าจะมาเป็น “สถาบันสถาปนา และปฐมภพ”

ไอแซค อาซิมอฟ ได้เริ่มเขียนเรื่องในชุด “สถาบันสถาปนา” ขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 1941 ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 21 ปี และโลกก็ยังอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อาซิมอฟเล่าไว้ว่า ขณะที่นิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Nightfall (สนธยาเยือน) ของเขากำลังจะได้รับการตีพิมพ์นั้น จอห์น ดับเบิลยู แคมป์เบล (John W. Campbell) บรรณาธิการของวารสาร Astounding Science Fiction ได้ขอให้เขาวางพล็อตสำหรับนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องต่อไปไว้เลย ซึ่งเขาเองก็ยังคิดไม่ออกเหมือนกันว่าจะเขียนอะไรดี จึงใช้วิธีสุ่มหยิบเอาหนังสือมาเปิดเล่น และเขาก็เห็นภาพที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในยุคของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทำให้เขาเกิดความคิดขึ้น… แต่อย่างไรก็ตาม หากปราศจากเสียซึ่งความช่วยเหลือของนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์อีกสองคนคือ แคมป์เบล และ เฟรดริค พอล (Frederik Pohl) แล้ว นิยายวิทยาศาสตร์ชุดสถาบันสถาปนานี้ก็คงไม่ปรากฏออกมาสู่บรรณภพ หรืออาจปรากฏแต่ก็เป็นในรูปแบบที่ผิดกัน ในตอนต้น สถาบันสถาปนาเป็นนิยายชุดที่แบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ตีพิมพ์ลงในวารสารเป็นตอนๆ ตัวอาซิมอฟเองนั้นหลังจากเขียนเรื่องแรกไปแล้ว เมื่อจะเริ่มเขียนเล่มที่สองเขาก็เริ่มพบกับทางตัน คือจินตนาการไม่ออกว่า จะเดินเรื่องต่อไปอย่างไรดี เฟรดริค พอลได้พูดอะไรบางอย่างกับเขา (ซึ่งตัวอาซิมอฟเองก็จำไม่ได้เหมือนกันว่าอะไร) ทำให้เขาเกิดแรงบันดาลใจในการเขียนเรื่องที่สอง และต่อๆ […]

ลำดับเหตุการณ์

ลำดับเหตุการณ์ ลำดับเหตุการณ์นี้อ้างอิงถึงเรื่องในหนังสือเล่มต่างๆ ของอาซิมอฟ โดยอาจมีวงเล็บกำกับไว้ว่ามาจากเล่มใด ซึ่งบางเหตุการณ์ก็ไม่ได้ระบุเวลาไว้อย่างชัดเจน จึงแสดงได้แต่เพียงปีโดยประมาณเท่านั้น เหตุการณ์ทั้งหมดจะแบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ ยุคก่อนจักรวรรดิ ปีที่อ้างถึงจะใช้เป็น ค.ศ. (AD – Anno Domini) คือ คริสตศักราช ตามที่เรารู้จักกันทั่วไป ยุคจักรวรรดิ ปีที่อ้างถึงจะใช้เป็น จ.ศ. (GE – Galactic Era) คือ จักรวาลศักราช เริ่มนับตั้งแต่มนุษย์รวมตัวกันก่อตั้งจักรวรรดิสากลจักรวาลขึ้น โดยมีอาณาเขตครอบคลุมไปทั่วกาแลกซีทางช้างเผือก ยุคสถาบันสถาปนา ปีที่อ้างถึงจะใช้เป็น ส.ศ. (FE – Foundation Era) คือ สถาปนศักราช เริ่มนับตั้งแต่มีการก่อตั้งสถาบันสถาปนาแห่งแรกขึ้นที่พิภพเทอร์มินัส สุดขอบกาแลกซีทางช้างเผือก และเริ่มต้นดำเนินการตามแผนการเซลด็อน ยุคก่อนจักรวรรดิ  ค.ศ.  เหตุการณ์ 1945 ระเบิดปรมาณูลูกแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ (จากเรื่อง “จุดดับแห่งนิรันดร์” – The End of Eternity) ก่อน ค.ศ […]